E-library
Muse Shop
e-ticket
TH
EN
สำหรับผู้สูงอายุ
MUSEUM SIAM VISIT
นิทรรศการ
นิทรรศการหลัก
นิทรรศการหมุนเวียน
นิทรรศการเสมือนจริง
มิวเซียมใต้ดิน
กิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
กิจกรรมที่ผ่านมาแล้ว
เครือข่าย
Museum Thailand
บริการ
ห้องสมุด
คลังภาพเก่า
จดหมายเหตุ
E-Library
ชุมชนในคลังข้อมูลดิจิทัล
ห้องคลังความรู้
ห้องคลังโบราณวัตถุและปฏิบัติการ
ห้องคลังโบราณวัตถุและปฏิบัติการ
ศูนย์บริการทดสอบวัสดุเพื่องานอนุรักษ์
จดหมายข่าวงานอนุรักษ์และพิพิธภัณฑ์
การบริหารจัดการคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์ด้วยระบบ RE-ORG
มิวเซียมคลินิก
คลินิกพิพิธภัณฑ์
เช่าพื้นที่
ความรู้
สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
100 ปีตึกเรา
ประวัติศาสตร์พื้นที่และสถาปัตยกรรมมิวเซียมสยาม
Video
Human library
Museum inFocus 2567
Museum Talk
Podcast
วัตถุพิพิธภัณฑ์ 360
Museum Academy
บทความ
Fun Facts on Muse
รู้ไว้ใช่ว่า
Muse Pop Culture
Muse Mag
Museum Core
Muse Around The World
Insight MuseumSiam
มิวเซียมสยามกับประวัติศาสตร์พื้นที่
ศิลปะกับตึกเก่า
ภาพเก่าเล่าเรื่อง
Museum inFocus
งานเสวนาวิชาการ Museum inFocus
Museum Forum
ASEAN Museum Forum 2024
Museum Forum 2021
ASEAN Museum Forum 2018
Museum Forum 2017
Museum Forum 2016
Museum Forum 2015
เกี่ยวกับเรา
ที่มา
สพร.
มิวเซียมสยาม
แนวคิด วิสัยทัศน์
โครงสร้าง
ข่าวสารองค์กร
ประกาศ
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศทั่วไป
ร่วมงานกับเรา
ติดต่อเรา
Muse Pop Culture
ย้อนกลับ
"พญานาค" ตามความเชื่อในศาสนาพุทธ และ ศาสนาพราหมณ์ และตามรอยความเชื่อ 3 สถานที่แห่งความศรัทธาของคนต่อพญานาคในไทย
Muse Pop Culture
21 ก.ย. 65 214K
ผู้เขียน : Administrator
ความเชื่อในเรื่องพญานาค หรือ นาคราช ปรากฏทั้งในอินเดีย ไทย และทั่วไปในดินแดนอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับศาสนาคือ พราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ ความเชื่อเรื่องนาคของแต่ละศาสนาเป็นอย่างไร และนาคในความเชื่อของไทย มีที่มาจากไหน มาติดตามหาความเชื่อนี้ด้วยกัน
พรามหณ์-ฮินดู
นาค ตามความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดู เป็นสิ่งมีชีวิตกึ่งเทพ มีพลังอำนาจวิเศษ รูปลักษณะของนาคเป็นมนุษย์กึ่งมนุษย์กึ่งนาค หรือเป็นลักษณะนาคทั้งหมด นาคอาศัยอยู่ในโลกบาดาล ซึ่งเต็มไปด้วยอัญมณี ทองคำ และสมบัติทางโลกอื่น ๆ นาคมีความเกี่ยวพันกับน้ำ เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ ทะเล หรือแม้แต่บ่อน้ำ และถือว่าเป็นผู้พิทักษ์สมบัติ และในตำนานฮินดู นาค ซึ่งประทับรอบพระศอของพระศิวะได้มาเป็นเชือกสำหรับการกวนน้ำในเกษียรสมุทร
พระวิษณุนั้นดั้งเดิมแล้วมีการสร้างรูปเคารพในรูปลักษณะที่ทรงมีนาคเศษะประทับปกคลุม หรือประทับนอนบนนาคเศษะ แต่ประติมานวิทยานี้ในเทพองค์อื่น ๆ ก็ปรากฏเช่นกัน อาทิในพระคเณศซึ่งปรากฏนาคในหลายลักษณะ ทั้งประทับคล้องพระศอของพระคเณศ ใช้เป็นด้ายศักดิ์สิทธิ์ ประทับคล้องพระวรกายของพระคเณศ หรือเป็นบัลลังก์ให้พระคเณศประทับ ส่วนพระศิวะมักปรากฏในรูปเคารพพร้อมนาคในลักษณะคล้ายมาลัยเช่นกัน
ศาสนาพุทธ
นาคในศาสนาพุทธ ปรากฏในรูปของงูขนาดใหญ่ บางตนมีพลังวิเศษแปลงกายเป็นรูปมนุษย์ได้ เชื่อว่านาคอาศัยในบาดาล เช่นเดียวกันกับเทวดาบางส่วน และอาศัยในส่วนต่าง ๆ ของโลกมนุษย์ บางส่วนอาศัยในน้ำ เช่นลำธาร แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร และบางส่วนอาศัยบนบกเช่นในถ้ำ
นาคเป็นบริวารของท้าววิรูปักษ์ หนึ่งในโลกบาลผู้พิทักษ์ทิศตะวันตก นาคต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์บนเขาพระสุเมรุ เพื่อปกป้องชั้นดาวดึงส์จากอสูร
นาคในศาสนาพุทธที่รู้จักกันคือนาคมุจลินท์ ซึ่งปรากฏในมุจจลินทสูตรว่า ระหว่างที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข เกิดฝนฟ้าคะนองรุนแรง พญามุจลินท์จึงได้ขดรอบพระพุทธองค์แล้วแผ่พังพานปกพระเศียรของพระพุทธเจ้าเพื่อมิให้ทรงต้องฝน หลังจากฝนหยุด พญามุจลินท์ได้คลายขดออกและแปลงกายเป็นชายหนุ่มยืนพนมมือถวายความเคารพอยู่เฉพาะพระพักตร์
นาค ของไทย
ในความเชื่อของวัฒนธรรมร่วมไทย-ลาว มีการนับถือนาคในลักษณะเป็นเทพแห่งน้ำ และมีความเชื่อว่าในแม่น้ำโขงนั้นมีนาคอาศัยอยู่ ตามตำนาน สัตว์จำพวกงู, แมงป่อง, ตะขาบ, คางคก มีพิษจากพิษที่นาคได้คายทิ้งไว้ นอกจากนี้ในความเชื่อของไทยได้เชื่อมโยงกับศาสนาพุทธในเรื่องกำเนิดของพญานาคที่มีหลายลักษณะ ซึ่งตามที่ปรากฏในแนวทางของพระพุทธศาสนา มี 4 ลักษณะ
คือ แบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที แบบสังเสทชะ เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักมม แบบชลาพุชะ เกิดจากครรภ์ และแบบอัณฑชะ เกิดจากฟองไข่ และ ตระกูลของนาคแบ่ง ออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ ตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง ตระกูลกัณหาโคตรมะ พญานาคตระกูลสีดำ
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อกันว่า แม่น้ำโขงเกิดจากการไถลตัวของพญานาค 2 ตน จึงเกิดเป็นแม่น้ำโขงและแม่น้ำน่าน และยังมีตำนานกล่าวถึงบั้งไฟพญานาค ว่าในวันออกพรรษาหรือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พญานาคแม่น้ำโขงต่างชื่นชมยินดี จึงทำบั้งไฟถวายการเสด็จกลับของพระพุทธเจ้าจนกลายเป็นประเพณีทุกปี
นาคในความเชื่อของไทยอยู่ในฐานะเทพแห่งน้ำ เพราะนาคเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ จึงปรากฏความเชื่อเรื่องนาคที่เกี่ยวกับน้ำ เช่น ในตำนานสิงหนวัติ กล่าวว่า กล่าวถึงพญานาคแปลงกายมาช่วยชี้ที่ตั้งเมืองใหม่ พอตกกลางคืนก็ขึ้นมาสร้างคูเมือง 4 ด้าน เป็น เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ต่อมาเมื่อยกทัพปราบเมืองอื่นได้ และรวมดินแดนเข้าด้วยกัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโยนกนาคราช นอกจากนี้ยังปรากฏความเชื่อเรื่องนาคในคำเสี่ยงทายปริมาณของน้ำและฝนที่จะตกในแต่ละปี เรียกว่า "นาคให้น้ำ" จะปรากฏเห็นได้ชัดที่สุดในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันพืชมงคลของแต่ละปี
นอกจากที่ปรากฏในตำนานแล้ว นาคในงานศิลปะในประติมากรรมไทยและลาว มักจะเห็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับนาคได้เสมอ เช่นที่พบในการสร้าง นาคสะดุ้ง ที่ทอดลำตัวยาวตามบันได, นาคลำยอง ซึ่งเป็นป้านลมหลังคาโบสถ์ ที่ต่อเชื่อมกับนาคสะดุ้ง, นาคเบือน, นาคจำลอง และนาคทันต์ หรือคันทวยรูปพญานาค และแม้แต่ในโขนเรือ (หัวเรือ) ของเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ในขบวนเรือกระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นต้น
และในวันนี้จะพาไปตามรอยความเชื่อแห่งความศรัทธาต่อตำนานพญานาค ที่เป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวและมีความศักดิ์สิทธิ์ ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมากราบไหว้เพื่อเสริมมงคลให้กับชีวิต 3 แห่ง คือ
คำชะโนด จังหวัดอุดรธานี
“คำชะโนด” สถานที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านในจังหวัดอุดรธานีและใกล้เคียง เชื่อกันว่าเป็นที่อยู่ของพญานาคและเป็นทางเชื่อมต่อเมืองบาดาล ปกครองรักษาโดย “พญานาคราชปู่ศรีสุทโธ” และ “องค์แม่ศรีปทุมมานาคราชเทวี” และปกคลุมด้วยผืนป่าคำชะโนดขนาดใหญ่อยู่ทั่วบริเวณ มี “บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์” ที่ชาวบ้านมักจะมาตักน้ำกลับไปสักการะ เพราะเชื่อว่าเป็นสิริมงคลกับชีวิต
ที่ตั้ง : วัดศิริสุทโธ (คำชะโนด) อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
พญาศรีสัตตนาคราช จังหวัดนครพนม
“องค์พญาศรีสัตตนาคราช” รูปปั้นพญานาคขดหาง มี 7 เศียร พ่นน้ำได้ หล่อด้วยทองเหลือง ขนาดความกว้างรวมหาง 4.49 เมตร สูง 10.90 เมตร มีความสูงจากฐาน 16.29 เมตร เศียรพญานาคหันไปทางทิศเหนือ หางชี้ไปทางแม่น้ำโขง ทุกวันในเวลาพลบค่ำจะมีการเปิดไฟประดับรอบองค์พญาศรีสัตตนาคราช และบริเวณใกล้กันคือลานพนมนาคา เป็นลานคอนกรีตกว้างโล่งเหมาะกับการชมทัศนียภาพของแม่น้ำโขง
ที่ตั้ง : ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
ศาลปู่พญานาคราช จังหวัดมุกดาหาร
ศาลที่ตั้งอยู่บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันเขต) สร้างเพื่อบวงสรวงองค์พญานาคในช่วงที่กำลังก่อสร้างสะพานแห่งนี้ โดยมีลักษณะเป็นรูปปั้นพญานาคขนาดใหญ่พันรอบเสา หันหน้าออกสู่แม่น้ำโขง อีกทั้งใกล้ ๆ กันยังเป็นรูปปั้น “ย่านาคน้อย” รวมไปถึงรูปปั้นพญานาคพ่นน้ำอีกด้วย ซึ่งผู้คนนิยมเดินทางมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลและขอให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
ที่ตั้ง : บ้านสงเปือย ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
3 สถานที่ตามรอยพญานาคที่แนะนำนี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ความเชื่อเรื่อง พญานาค เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ใครที่ไปสักการบูชาแล้วสบายใจ ก็ลองไปตามรอยสักการะขอพรกันได้ แต่ถึงอย่างไรสุดท้ายชีวิตจะเป็นไปในทิศทางใด ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราทั้งสิ้น
...----------------...
“วันออกพรรษา” ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 นับได้ว่าเป็นระยะเวลาสิ้นสุดการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ รวมระยะเวลา 3 เดือน Backbone MCOT จึงขอนำตำนาน เรื่องเล่าของ “พญานาค” หนึ่งในความเชื่อของประชาชนริมฝั่งแม่น้ำโขง มาเล่าให้ทุกคนฟังกัน
“แม่น้ำโขง” เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับได้ว่าเป็น “มหานทีแห่งชีวิต” กล่าวคือ เป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชาชนริมฝั่งแม่น้ำโขง เปรียบเสมือนสายสัมพันธ์ ระหว่างประเทศบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงที่มีทั้ง วัฒนธรรม ความเชื่อ รวมไปถึงขนบธรรมเนียม และประเพณีต่าง ๆ รวมไปถึงความเชื่อเกี่ยวกับ “พญานาค” ที่ร่วมกัน หล่อหลอมจนเกิดเป็น “อารยธรรมลุ่มน้ำโขง”
พญานาค เจ้าพญาแห่งสายน้ำโขง
“พญานาค” สัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ “พญานาค” ตำนานความเชื่อของ “พญานาค” นั้นมีอย่างแพร่หลาย แต่ละภูมิภาคก็มีความแตกต่างกันไป โดยชาวบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักจะเชื่อกันว่า “พญานาค” นั้นอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และยีงเชื่อกันว่ามีผู้คนเคยพบร่องรอยของพญานาคที่ขึ้นมายังโลกมนุษย์ รวมไปถึงปรากฏการณ์ “บั้งไฟพญานาค” ที่เกิดขึ้นใน “วันออกพรรษา” กล่าวกันว่า ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อส่วนใหญนั้นจะมีลักษณะลำตัวเป็นงูตัวใหญ่ มีหงอนสีทองและตาสีแดง มีเกล็ดเหมือนปลาซึ่งมีสีแตกต่างกันไปตามบารมีของนาคตน
กำเนิดนาคา
เนื่องจากพญานาคมีหลายเผ่าพันธุ์ ดังนั้นการกำเนิดของพญานาคจึงมีหลายลักษณะแตกต่างกันไป แต่ในด้านพระพุทธศาสนา ได้แบ่งการกำเนิดของพญานาคเอาไว้ 4 ประเภท (โชติ ศรีสุวรรณ และเกริก ท่วมกลาง, 2560 : 21-24) คือ
กำเนิดแบบโอปปาติกะ คือ กำเนิดโดยผุดขึ้นเป็นตัวทันที ไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ มีอายุเท่ากับคนอายุ 16-17 ปี เป็นการกำเนิดขึ้นจากบุญบารมี มีลักษณะกำเนิดเหมือนเทวดา พรหม เปรต หรือสัตว์นรก พญานาคที่กำเนิดในลักษณะที่จะมีอิทธิฤทธิ์มากกว่าพญานาคที่กำเนิดในลักษณะอื่น ๆ จัดอยู่ในพญานาคชั้นสูงในชั้นปกครองหรือตำแหน่งองค์นาคาธิบดี จะมีบารมีมาก มีบริวารคอยรับใช้
กำเนิดแบบสังเสทชะ คือ กำเนิดในเหงื่อไคลหรือที่ชื้นแฉะ สิ่งสกปรกในน้ำสกปรกที่หมักหมม ในเปลืองตม กำเนิดโดยไม่อาศัยฟองหรือครรภ์มารดา แต่อาศัยเกิดจากต้นไม้ ผลไม้ ดอกไม้ ของโสโครก ที่ชุ่มชื้น เชื้อรา นาคที่เกิดในลักษณะที่จะมีลักษณะเป็นกึ่งเดรัจฉานกึ่งทิพย์ เมื่ออยู่ในบาดาลจะสามารถแปลงเป็นมนุษย์ได้ ทำหน้าที่เป็นบริวารรับใช้อยู่ในวิมาน ณ ภพบาดาลของพวกโอปปาติกะ
กำเนิดแบบชลาพุทชะ คือ การกำเนิดจากครรภ์ของมารดา เป็นผู้ให้กำเนิดอย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นาคที่เกิดในลักษณะนี้จะมีอิทธิฤทธิ์มากน้อยตามบุญกรรมที่ได้สั่งสมมา อยู่ในชั้นปกครอง รักษาศีลก็มี ไม่รักษาศีลก็มี แตกต่างกันไป จะเป็นพญางูหรือเทพเจ้าเสียส่วนใหญ่
กำเนิดแบบอัณฑชะ คือ การกำเนิดจากฟองไข่ เหมือนงูทั่วไป ไข่ออกมาสักระยะหนึ่งจึงฟักเป็นตัว นาคประเภทนี้มีพิษร้ายกาจ แต่ส่วนใหญ่เป็นงูชั้นล่าง เช่น งูเห่า งูจงอาง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคที่เกี่ยวข้องกับ “วันออกพรรษา” อีกด้วย เช่น บั้งไฟพญานาค ที่จะขึ้นเฉพาะวันออกพรรษาเท่านั้น มีความเชื่อกันว่าที่ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย มีเมืองบาดาลอยู่ใต้พื้นดินและเป็นทางออกสู่เมืองมนุษย์ เรียกว่า เป็นเมืองหน้าด่าน จึงมีบั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นเป็นประจำที่นี่
จะเห็นได้ว่า “พญานาค” นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราว ที่ประชาชนริมฝั่งแม่น้ำโขงมีร่วมกันมาอย่างยาวนาน ทั้งด้านความเชื่อ ตำนาน เรื่องเล่า รวมไปถึงประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ หล่อหลอมรวมกันจนเกิดเป็น “อารยธรรมลุ่มน้ำโขง” นั่นเอง.
ความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคทุกคนก็น่าเคยได้ยิ้นกันมาบ้างแล้ว
...I Love You Big Much...
...#โปรดใช่วิจารณญาณในการอ่านด้วนะคะ...
...เค้าแต่งขึ้นเพราะจินตนาการไม่มีการลบหลู่แต่อย่างไร...
...#โปรดใช่วิจารณญาณในการอ่านด้วนะคะ...
***ดาวน์โหลด NovelToon เพื่อเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การอ่านที่ดียิ่งขึ้น!***
อัพเดทถึงตอนที่ 308
Comments