เป็นตัวประกอบทั้งทีขอลองใช้ชีวิตแบบสงบสุข
( แนะนำเพื่อจะงงกันเวลาอ่านน่ะคะ )
ราชวงศ์เซี่ย (2,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
ราชวงศ์ เซี่ยถือเป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์จีนที่เริ่มระบบการปกครองแบบพ่อสืบ ทอดให้ลูก จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของซือหม่าเชียน ทำให้นักประวัติศาสตร์จีนมักเริ่มนับยุคสมัยเซี่ยโดยเริ่มจากเซี่ยหวี่ ถึงลวี่กุ่ย หรือเซี่ยเจี๋ย ในระยะเวลา 400 กว่าปี มีกษัตริย์ครองบัลลังก์ 17 พระองค์ มีการสืบทอดอำนาจถึง 14 ชั่วคน
ราชวงศ์ซาง (1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 1,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
ราชวงศ์ซางมีอำนาจอยู่ประมาณ 550 ปี คือ ตั้งแต่ 1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช (1057-503 ปีก่อนพ.ศ.) มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 31 พระองค์
ราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งราชวงศ์โจวออกเป็น ราชวงศ์โจวตะวันตก และ ราชวงศ์โจวตะวันออก ซึ่งมีระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน 790 ปี(ยาวนานที่สุดในจีน) แต่มีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก
ราชวงศ์โจวตะวันตก (1,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 771 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
โจวมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เดิมอาศัยอยู่ในแถบเสียกาน ต่อมาอพยพไปตั้งรกรากยังโจวหยวน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอำเภอฉีซานมณฑลส่านซีของจีน เมื่อ 1,100 ปีก่อนคริสต์ศักราชชนเผ่าต้นตระกูลโจวก็มีขุมกำลังเข้มแข็งขึ้น พวกเขาทางหนึ่งรวบรวมรัฐเล็ก ๆรอบข้างเข้ามา อีกทางหนึ่งโยกย้ายนครหลวงจากโจวหยวนมายังดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเฟิง หรืออำเภอฉางอานในปัจจุบัน โดยตั้งเป็นเมืองเฟิงจิง จากนั้นแพร่ขยายอิทธิพลไปทางทิศตะวันออก ทำให้เกิดข้อพิพาทกับราชวงศ์ซาง
ราชวงศ์โจวตะวันออก (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 476 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
ยุคชุนชิว แปลว่า ยุคฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วง เป็นยุคหนึ่งในราชวงศ์โจว ราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน หลังจากอาณาจักรโจวตะวันตกของพระโจวโยวหวังล่มสลายลงโดยความร่วมมือของเจ้า นครรัฐบางคนกับเผ่าเฉวี่ยนหรงแล้ว พวกเขาสถาปนารัชทายาท อี้จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองลั่วอี้ เนื่องจากเมืองเฮ่าได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้อย่างมาก นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า ยุคชุนชิว (ซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่างๆเป็นระยะเพื่อความเป็น เจ้าผู้นำนครรัฐ ยุคนี้เริ่มต้นในปี 770 ก่อน ค.ศ. รัชสมัยพระเจ้าโจวผิงหวัง ถึง ปี 476 ก่อน ค.ศ
ยุคจ้านกว๋อ หรือ เลียดก๊ก (477ปีก่อนคริสต์ศักราช – 222 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
ต้นยุคชุนชิวแผ่นดินจีนมีประมาณสองร้อยนครรัฐ แต่สงครามแย่งชิงอำนาจหรือแผ่ขยายอิทธิพลต่างผนวกดินแดนต่างๆเข้ากับรัฐผู้ ชนะจนกระทั่งเหลือเพียงรัฐใหญ่ เจ็ดรัฐมหาอำนาจในตอนปลายยุคชุนชิวนักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า เจ็ดมหานครรัฐแห่งยุคจั้นกั๋ว ได้แก่ รัฐฉี รัฐฉู่ รัฐเยียน รัฐฉิน รัฐหาน รัฐเว่ย และ รัฐเจ้า ยุคสมัยนี้มีสงครามดุเดือดระหว่างรัฐต่อเนื่อง รัฐฉินกับรัฐฉีได้รับการขนานนามเป็นสองรัฐมหาอำนาจฟากตะวันออกและฟากตะวันตก ซึ่งถือเป็นดุลอำนาจต่อกัน
ยุคนี้สิ้นสุดโดยการขึ้นครองอำนาจของ อิ๋งเจิ้ง แห่งรัฐฉิน หรือที่รู้จักกันในนาม จิ๋นซีฮ่องเต้ (พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้) โดยถือเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีน
ราชวงศ์ฉิน (221ปีก่อนคริสต์ศักราช – 206ปีก่อนคริสต์ศักราช)
เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนระหว่าง 221ปีก่อนคริสต์ศักราช 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงแม้ว่าราชวงศ์ฉินจะมีอายุเพียงแค่ 12 ปี เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เซียงหยาง บริเวณเมืองซีอานปัจจุบัน ก่อนหน้านี้จีนได้แตกแยกออกเป็น 7 รัฐ เปิดศึกกับกษัตริย์ของรัฐ ทั้ง 6 ประเทศในลุ่มน้ำเหลือง คือ หาน จ้าว เว้ย ฉู่ เยียน และฉี ฉินได้ทำสงครามรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว และสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้ คนไทยจึงออกเสียงเพี้ยนเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ จิ๋นซีฮ่องเต้ครองราชย์ระหว่าง 221ปีก่อนคริสต์ศักราช – 221ปีก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงนี้แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้ทรงเสด็จสวรรคต ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงในช่วง 206ปีก่อนคริสต์ศักราช
ในสมัยราชวงศ์ฉินมีการก่อสร้างกำแพงเมืองจีน เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกป่าเถื่อนทางเหนือของจีน คือพวกมองโกล ซงหนู และคีตัน
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 220)
หลังจากที่ผ่านสงครามกลางเมืองช่วงสั้น ๆ เมื่อเล่าปังเอาชนะเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) โดยมีราชวงศ์ซินของอองมังมาคั่นเป็นระยะสั้นๆ ก่อนที่จะเกิดการฟื้นฟู ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) โดยย้ายนครหลวงไปที่เมืองลั่วหยาง
ราชวงศ์ซิน (ค.ศ. 9-23)
ราชวงศ์ซิน มีเป็นราชวงศ์สั้นๆ ผู้ก่อตั้ง คือ อองมัง ทรงได้อำนาจมาจากการปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดิฮั่น เมื่อเสด็จสวรรคต ราชวศ์ฮั่นก็ฟื้นฟูกลับขึ้นมาอีกครั้ง
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 23-220)
ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่ถูกกู้ขึ้นมา หลังถูกอองมังยึดอำนาจ เป็นราชวงศ์ฮั่นดังเดิม แต่ย้ายเมืองหลวงไปลั่วหยางช่วงเสื่อมของฮั่นตะวันออก เกิดกบฎโจรโพกผ้าเหลือง ขึ้นใน ค.ศ. 184 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคขุนศึก หลังจากนั้นได้มีอาณาจักรสามแห่งตั้งประชันกัน โดยเรียกว่า ยุคสามก๊ก เป็นที่มาของวรรณกรรมเรื่องสามก๊กเนื่องจากความเจริญของชนชาติจีนในยุคราชวงศ์ฮั่น คนจีนจึงเรียกตัวเองว่าเป็น “ชาวฮั่น” สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220-280 )
เป็นยุคที่แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 ก๊ก โดยมีก๊กของ เล่าปี่ ก๊กของ โจโฉ และก๊กของ ซุนกวน ซึ่งต่างรบแย่งชิงความเป็นใหญ่ในแผ่นดินมังกรทอง เริ่มจากการที่พระเจ้าเหี้ยนเต้ ถูกบุตรชายโจโฉขับออกจากบัลลังก์ แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 แคว้น
ค.ศ. 263 ก๊กเล่าปี่ล่มสลาย
ค.ศ. 265 ก๊กโจโฉถูกขุนศึกภายในชื่อ สุมาเอี๋ยน ยึดอำนาจ และสุมาเอี๋ยนก่อตั้งราชวงศ์จิ้น และเริ่มครองราชย์ในนามราชวงศ์จิ้น
ค.ศ. 280 ก๊กซุนกวนล่มสลาย สุมาเอี๋ยนครองแผ่นดินจีนได้สมบูรณ์
ราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265-317)
สุมาเอี๋ยน สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ก่อตั้งราชวงค์จิ้นตะวันตกใน ปีคริสต์ศักราช 265แทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือโจโฉ เมื่อถึงปีค.ศ. 280 จิ้นตะวันตกปราบง่อก๊กลงได้ รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ยุติยุคสามก๊กลง ราชวงศ์จิ้นได้เปิดรับเผ่านอกด่านทางเหนือเข้ามาเป็นจำนวนมาก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนู หลิวหยวน ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่า ฮั่นกว๋อภายหลังหลิวหยวนสิ้น บุตรชายชื่อหลิวชง ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา
การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนา ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้นของชนเผ่าต่างๆ 16 แคว้น โดยเรียกยุคนี้ว่า ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น เป็นยุคสั้นๆ ที่เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของชาวจีนเชื้อสายต่างๆ
ราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ. 420-581)
หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265316) ภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้น จวบจน ค.ศ. 386 หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง (ปัจจุบันคือเมืองต้าถงในมณฑลซันซี) ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือใน ค.ศ. 439
เมื่อถึงปีค.ศ. 581หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้ จากบัลลังก์ สถาปนาราชวงศ์สุย จากนั้นกรีธาทัพลงใต้ ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ
ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618)
สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ได้รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรสคือสุยหยางตี้ไม่มีความาสามารถ ทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาลเช่นกัน (ค.ศ. 581-617)
ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907)
หลี่หยวน (หลี่เอียน) หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และได้บุตรชายคนรองหลี่ซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน (เมืองฉางอันเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ อาทิ ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ผู้นำของแค้วนถังได้สถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้ชัยชนะเด็ดขาดจากแคว้นอื่นๆ ในที่สุด ภายหลัง โอรสองค์รองหลี่ซื่อหมินยึดอำนาจจากรัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิง และโอรสองค์ที่สามหลี่หยวนจี๋ ในเหตุการณ์ที่ประตูเสียนอู่ สุดท้ายหลี่เอียนสละราชสมบัติ หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุดที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน แสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ ๆลๆ มีนครหลวงฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ราชวงศ์ถังมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นมาก นอกจากจักรพรรดิถังไท่จงแล้วในสมัยถังนี้ยังมีจักรพรรดิถังสวนจง ซึ่งในสมัยของพระองค์กวีรุ่งเรื่องมาก นับว่าในสมัยของพระองค์ยังเป็นยุดรุ่งเรื่องและเสื่อมลงเพราะปลายสมัยของ พระองค์ ทรงลุ่มหลงหยางกุ้ยเฟย ไม่สนใจในราชกิจบ้านเมือง และในระหว่างได้เกิดฮ่องเต้หญิงคนแรกของประเทศจีน ซึ่งก็คือ พระนางบูเช็กเทียน อานลู่ซานแม่ทัพชายแดนจึงก่อการปฏิวัติและยึดเมืองหลวงฉางอาน เป็นผลสำเร็จ ทำให้ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมตั้งแต่บัดนั้นราชวงศ์ถังมีระยะเวลาอยู่ช่วงราวๆ (ค.ศ. 618-907)
ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร (ค.ศ. 907-960)
ตอนปลายราชวงศ์ถังมีการก่อกบฎประชาชนตามชายแดน ขันทีครองอำนาจบริหารบ้านเมืองอย่างเหิมเกริม มีการแย่งชิงอำนาจกัน แม่ทัพจูเวิน (จูเฉวียนจง) สังหารขันทีทรงอำนาจในราชสำนัก แล้วสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุด บรรดาหัวเมืองต่างๆมีการแบ่งอำนาจกันเป็นห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร คือ ราชวงศ์เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น และโจว โดยปกครองแถบลุ่มน้ำฮวงโหติดต่อกันมาตามลำดับ ส่วนเขตลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปเกิดเป็นรัฐอิสระอีก 10 รัฐ รวมเรียกว่า สิบอาณาจักร การแบ่งแยกอำนาจปกครองยุคนี้ขาดเสถียรภาพ ชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น ต่อมา เจ้าควงอิ้น ผู้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือ ซ้องเป็น พระเจ้าซ่งไท่จู่ แล้วปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา จนกระทั่งพระเจ้าซ่งไท่จง ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ปิดฉากสภาพการแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดลงสำเร็จโดยใช้เวลา เกือบ 20 ปี
ราชวงศ์ซ่ง ค.ศ. 960-1279
ปีค.ศ. 960เจ้าควงอิ้นหรือพระเจ้าซ่งไท่จู่ สถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเหนือ เมืองหลวงอยู่ที่ไคฟง (มณฑลเหอหนานใน ปัจจุบัน) รวบรวมแผ่นดินจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวสำเร็จ แล้วใช้นโยบายแบบ ลำต้นแข็ง กิ่งก้านอ่อนในการบริหารประเทศ ปฏิรูปการปกครอง การทหาร การคลัง อันมีประโยชน์ในการสร้างเสถียรภาพแก่อำนาจส่วนกลาง แต่ส่วนท้องถิ่นกลับอ่อนแอ เมื่อต้องทำสงคราม ย่อมไม่มีกำลังต่อต้านศัตรูได้ อำนาจการใช้กระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยส่วนกลาง
ราชวงศ์หยวน ค.ศ. 1279-1368
ยุคนี้ประเทศจีนถูกปกครองโดยชาวมองโกล นำโดย หยวนชื่อจู่ (หรือกุบไลข่าน) ซึ่งโค่นราชวงศ์ซ่ง ตั้งราชวงศ์หยวน หรือราชวงศ์มองโกลขึ้น ยุดสมัยนี้ได้มีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายเช่น มาร์โคโปโล มีการพิมพ์ธนบัตรจีนขึ้นครั้งแรกมีการส่งกองทัพรุกราน ชวา เวียดนาม ญี่ปุ่น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
สมัยนี้อาณาเขตมีขนาดใหญ่มาก ว่ากันว่าใหญ่กว่าอณาจักรโรมถึง4เท่า หลังจากกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ชนชั้นมองโกลได้กดขี่ชาวจีนอย่างรุนแรง จนเกิดกบฎ และสะสมกองกำลังทหารหรือกลุ่มต่อต้านขึ้น ช่วงปลายราชวงศ์หยวนจูหยวนจางได้ปราบปรามกลุ่มต่างๆ และขับไล่ราชวงศ์หยวนออกไปจากแผ่นดินจีนได้สำเร็จ
ราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1644)
ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ของจีนสถาปนาโดยจูหยวนจาง (จักรพรรดิหงหวู่) เมื่อปีค.ศ. 1368จู หยวนจาง หรือจักรพรรดิหมิงไท่จู่ ปฐมกษัตริย์องค์ของราชวงศ์ครองราชย์ที่เมืองนานกิง และได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น 31ปีแห่งการครองอำนาจ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้เสริมสร้างระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐเผด็จการแบบศักดินา ให้เข้มแข็งขึ้นอย่างสุดความสามารถ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ประหารขุนนางผู้มีคุณูปการ ฆ่าผู้คนที่มีความเห็นที่ไม่เหมือนพระองค์ เพิ่มอำนาจของจักรพรรดิให้มากขึ้น ปราบปรามอิทธิพลที่ต่อต้านพระองค์ หลังจากจักรพรรดิหมิงไท่จู่สวรรคตแล้ว จักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นพระราชนัดดาองค์หนึ่งได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาไม่นาน จูตี้ ผู้เป็นปิตุลาของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นได้ลุกขึ้นต่อสู้และโค่นอำนาจ รัฐของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินลง จูตี้ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหมิง เฉิงจู่หรือจักรพรรดิหยุงเล่อ ในปีค.ศ. 1421 จักรพรรดิหย่งเล่อได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองหนานจิงไปยังกรุงปักกิ่ง
ราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1644-1912
ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1911 ) เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ เป็นราชวงศ์ของเผ่าแมนจู เป็นชนต่างชาติที่เข้ามาปกครองจีน เป็นสมัยที่มีการตรวจตราข้อบังคับของสังคม เช่น ให้ชายจีนไว้ผมหางเปียและใส่เสื้อแบบแมนจู ในราชสำนักมีขุนนางตำแหน่งสำคัญกำเนิดขึ้นด้วย คือ “ขันที”
จีนยุคใหม่
หลังจากจักรพรรดิปูยี ฮ่องเต้ราชวงศ์ชิงองค์สุดท้ายสละราชสมบัติและเข้าไปอยู่ภายใต้การคุ้มครอง ของญี่ปุ่นซึ่งเข้าครองดินแดนบางส่วนของจีนและกดขี่ข่มเหงคนจีนจำนวนมาก กลายเป็นหุ่นเชิดของญี่ปุ่นเมื่อถูกสถาปนาขึ้นเป็นฮ่องเต้ของดินแดนแมนจูกัว ซึ่งญี่ปุ่นยึดครองไว้ ต่อมาต้องพ่ายแพ้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ของ เหมาเจ๋อตุง และถูกจับเข้าค่ายเพื่ออบรมเปลี่ยนแนวความคิดตามหลักการของพรรคคอมมิวนิสต์ ทำให้ฮ่องเต้พระองค์นี้รอดตายและมีพระชนม์ชีพจนแก่ชราและสวรรคตด้วยโรคภัย ของชายชราทั่วไป ถือเป็นการสิ้นสุดจีนโบราณและก้าวเข้าสู่ยุคจีนใหม่ซึ่งเป็นการต่อสู้ชิง อำนาจระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ของ เหมา เจ๋อ ตุง กับพรรครัฐบาล ของ นายพล เจียง ไค
ยุคสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912-1949)
ดร. ซุนยัดเซ็น เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณยาสิทธิราชย์ซึ่งปกครองด้วยสิทธิขาดของจักรพรรดิ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีจักรพรรดิเป็นประมุขตามอารยนิยมหลังจากซุนยัดเซ็นเสียชีวิต เป็นช่วงเวลาชิงอำนาจระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย คือ เจียงไคเช็ค กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ นำโดย เหมาเจ๋อตุง ช่วงแรกเจียงไคเช็คเป็นฝ่ายชนะและทำการปฏิวัติได้สำเร็จ สุดท้ายกลุ่มผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งรวมตัวกันขับไล่ เจียงไคเช็คหนีไปยังเกาะไต้หวัน และสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นแทน
ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 1949-ปัจจุบัน)
เหมา เจ๋อตุง (ค.ศ. 1949-1976)
หลังสงครามภายในจีนและชัยชนะเป็นของพรรคคอมมิวนิสต์จีนของ เหมา เจ๋อตุง พรรคก๊กมินตั๋งกำลังของ เจียง ไคเช็กอพยพไปที่เกาะไต้หวัน ประตูชัยแรกรวมตรวจระบบความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและที่ดินกว้างใหญ่ ทำให้ดีขึ้นจากระบบที่ดินศักดินาที่เจ้าของที่ดินของจีนเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ของที่ดินเพาะปลูกและ ชาวไร่ชาวนา คนทำงานถูกเคลื่อนย้ายกับระบบการจัดจำหน่ายที่เท่ากันมากกว่าในความกรุณา กว่ามั่งมีต่อชาวไร่ชาวนา เหมาเน้นหนักวางบน การต่อสู้ห้องเรียนและงานตามทฤษฎีและในปี 1953 เริ่มต้นการโฆษณาต่างๆเพื่อปิดบังเจ้าของที่ดินก่อนและนายทุนทั้งหลาย
เติ้ง เสี่ยวผิง (ค.ศ. 1976-1989)
เหมา เจ๋อตุง ถึงแก่ความตายและในที่สุด เติ้ง เสี่ยวผิง ก็ได้เป็นผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1980 จีนที่ลงเรือบนถนนเพื่อทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นและเปิด นโยบายซึ่งเริ่มต้นติดตามกับแห่งอุตสาหกรรมทำให้จุดมุ่งหมายดีขึ้นที่คอนโทรลการปกครองในเซ็กเตอร์แห่งอุตสาหกรรมบนมรดกของหัวข้อของ เหมา เจ๋อตุง เติ้ง เสี่ยวผิง มีแนวความคิดของพื้นที่ในทางเศรษฐกิจพิเศษโดยใช้ เซินเจิ้นเป็น เขตเศรษฐกิจแรกของประเทศที่ซึ่งลงทุนต่างประเทศจะถูกยอมเพื่อไหลในโดย ปราศจากการยับยั้งการปกครองเคร่งครัดและข้อบังคับการวิ่งในระบบทุนนิยมอย่าง ง่าย เติ้ง เสี่ยวผิง เน้นวางบนอุตสาหกรรมที่สว่างเป็นหินที่ก้าวเพื่อการพัฒนาของอุตสาหกรรมหนัก การสนับสนุนของ เติ้ง เสี่ยวผิง ทำให้เศรษฐกิจจีนดีขึ้นชี้การพัฒนารวดเร็วของเศรษฐกิจจีน
การเติบโตของทางเศรฐกิจภาคใต้ของจีน (ค.ศ. 1989-2002)
นำโดย เจียง เจ๋อหมิน เป็นเศรษฐกิจที่เติบโตทั้งๆที่การห้ามส่งสินค้าการค้าต่างประเทศคืนสู่การวิ่งเร็วโดยในปี 1990 เจียง เจ๋อหมิน ทำให้ดีขึ้นวิสัยทัศน์ของ เติ้ง เสี่ยวผิง ที่ไกลกว่าสำหรับระบบสังคมนิยมกับคนจีนในลักษณเวลาเดียวกัน เจียง เจ๋อหมินปรับระยะเวลาที่ดำเนินต่อไปขี้นในการรับสินบนทางสังคมผลกำไรเป็นได้ ถูกปิดเพื่อทำวิธีสำหรับแข่งขันกันมากขึ้นการลงทุนอย่างภายในและต่างประเทศ ที่จัดเตรียมไว้พร้อมระบบความผาสุขทางสังคมถูกใส่ในการทดสอบจริงจัง เจียง เจ๋อหมิน ยังเน้นหนักวางบนความก้าวหน้าแบบวิทยาศาสตร์และทางเทคโนโลยีในพื้นที่ เช่น การค้นหาช่องว่างเพื่อทนรับการบริโภคมนุษย์กว้างใหญ่การดึงดูดการสนับสนุน และคำวิจารณ์แพร่หลายมลพิษทางสิ่งแวดล้อมกลายเป็นปัญหาจริงจังมากเป็นที่ปักกิ่งบ่อย
สาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 2002-ปัจจุบัน)
วิกฤตกาลหลักแรกที่จีนเผชิญในศตวรรษที่ 21 เป็นการก่อกำเนิดใหม่ของผู้นำนำโดย หู จิ่นเทา คือสมมุติว่าพลังที่รวมอยู่ด้วยวิกฤตกาลสาธารณสุขสงครามบนความตกใจกลัววาด ประเทศแต่ถูกวิจารณ์เป็นข้ออ้างสำหรับการแสดงว่าถูกต้องการติดแสตมป์ออกจาก ซินเจียง โจรแยกดินแดนทำให้เศรฐกิจดำเนิน ต่อไปเพื่อเติบโตในหมายเลขหลักเป็นการพัฒนาของพื้นที่ในถิ่นชนบทกลายเป็นที่ สนใจหลักของนโยบายการปกครองในขั้นตอนทีละน้อยเพื่อรวมเป็นปึกแผ่นพลังของเขา หู จิ่นเทา หัวหน้างานสังสรรค์เอาเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการค้าของจีน
***ดาวน์โหลด NovelToon เพื่อเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การอ่านที่ดียิ่งขึ้น!***
Comments