คู่เวร | 1
อากาศในยามเช้าตรู่กลางฤดูหนาวอันเยือกเย็น น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเจิ่งล้นเพราะเป็นฤดูน้ำหลาก
เรือแพที่กำลังล่องลอยในสายน้ำ มีพระสงฆ์บิณฑบาตรเริ่มแล่นเข้าใกล้เต็มที สองย่าหลานรีบคุลีคุจอลงบันไดมายังท่าน้ำ เปิดฝาหมอ หยิบจับแกงถุงใส่ลงบาตรภิกษุ พนมมือไหว้ สงฆ์กล่าวบทสวด หยิบจับไม้พาย พายแล่นออกไป สองย่าหลานเอามือลูบหัว สบายกายสบายใจที่ได้ทำบุญ
“คุณย่าเจ้าค่ะ หนูหิวแกงรัญจวนแสนอร่อยของคุณยายจังเลย”
“ได้จ๊ะ ย่าจะทำให้สุดฝีมือไปเลย”
พูดดังนั้นสองย่าหลานเดินขึ้นห้องครัว พร้อมกับบ่าวใช้ เพื่อรังสรรค์เมนูแกงไทยโบราณ”แกงรัญจวน”
“เดี๋ยวหนูช่วยทำน่ะเจ้าค่ะคุณย่า”
ว่าแล้วสาวน้อยได้เดินแทรกหมู่บ่าวใช้ นั่งลงข้างๆคุณยาย
“ได้จ๊ะ พิกุลหยิบกระชอนให้ย่าหน่อย”
สาวน้อยหันหลังหยิบกระชอนส่งให้คุณย่า แล้วลงมือหยิบท่อนไม้มาก่อฟืน สอดเข้าไปใต้เตาอั้งโล่ คุณย่าหยิบซี่โครงกระดูกหมูใส่ลงในน้ำเดือด แช่ไว้7บาท (42-45นาที) แกมพิกุลไม่นิ่งเฉยหยิบเครื่องปรุงรส หอมแดง กระเทียม พริกสด และ น้ำพริกกะปิ ต้มต่อให้รสหวานของหอมแดง และ กระเทียม ออกรสชาติจึงปิดไฟ จากนั้นใส่ ใบโหระพา และ น้ำมะนาว ลงไป ก็จะได้ แกงรัญจวน แสนอร่อย
“น่าลิ้มลองรสชาติมากเลยเจ้าค่ะ…คุณยาย”
สองย่าหลานนั่งเรียงรายที่แคร่เล็ก(โต๊ะอาหารทรงเล็กสี่เหลี่ยมในสมัยนั้น)
“นังจิก ใส่ข้าวให้ท่านขุนด้วย ประเดี๋ยวคงออกจากหอนอน”
พูดไม่ทันเสร็จประโยค ขุนศรีอภัยภักดิ์เดินเข้ามาที่โถงใหญ่
“พูดถึงข้าเยี่ยงใดหรือขอรับ….คุณแม่”
“เยี่ยงใดก็เยี่ยงนั้นแหละ มามา..มากินข้าว”
คุณหญิงหยิบผ้าเช็ดปาก พร้อมพูดว่า
“ แล้วแม่ชบาไม่ออกมากินข้าวด้วยรึ”
“หล่อนกำลังนั่งห่มสไบทอง ทัดดอกไม้ที่หูอยู่กระมังขอรับ”
“แปลกจริงหนาเจ้า เป็นผัวเมียกันเยี่ยงไร ไม่รู้ว่าเมียกำลังทำอะไร”
“พอดีกระผมมีเรื่องกับแม่ชบานิดหน่อยขอรับ”
อยู่สักพักแม่ชบาก็เดินออกจากหอนอน
“ไม่นิดไม่หน่อยหรอกเจ้าค่ะคุณแม่”
“แม่ชบา….เจ้าเป็นภรรยา ควรให้เกียรติสามี ไม่มีแม่หญิงใดในพระนครที่คัดค้านผัว เจ้าไม่เคยได้ยินสุภาษิตนี้รึ สามีเป็นช้างเท้าหน้า ภรรยาเป็นเช้าเท้าหลัง”
แม่ชบาครุ่นคิดอยู่พักใหญ่
“คุณพี่เจ้าค่ะ น้องขอโทษที่กระด้างกระเดื่องต่อคุณพี่น่ะเจ้าค่ะ”
ขุนศรีอภัยภักดิ์ลูบหัวแม่ชบาด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน ทะนุถนอม แววตามองแม่ชบาด้วยความเอ็นดูภรรยา
“ไม่เป็นไร พี่ย่อมให้อภัยเจ้าได้เสมอ มีรือผัวไม่ยกโทษให้เมีย”
บ่าวใช้นั่งมองหน้าตายิ้มแย้ม
”อะแฮ่มๆ..พ่อศรี(ขุนศรีอภัยภักดิ์)เจ้าจะเกี้ยวสาวเหมือนวัยรุ่น14/15ไม่ได้แล้วน่ะ”
“ลูกขออภัยขอรับคุณแม่”
ในระหว่างที่พ่อกับแม่หวานสวีทกัน ลูกสาวตัวน้อยวัยใสกินข้าวจดหมดเกลี้ยง หาซ้ำยังขอเติมอีกถ้วย จนคุณย่าอดแซวมิได้
“กินเก่งจริงๆน่ะเจ้า ประเดี๋ยวอ้วนลงพุงเหมือนหมู วิ่งเล่นกับเพื่อนไม่ได้หนา”
แต่แล้วก็มีบ่าวผู้ชายคนหนึ่งรีบวิ่งมาแจ้งข่าวร้าย
จะเป็นเรื่องอะไรนั้น โปรดติดตามชมตอนต่อไป
แต่แล้วก็มีบ่าวผู้ชายคนหนึ่งเข้ามาแจงข่าวร้าย
“ท่านขุนขอรับท่านขุน”
คุณหญิงย่าตกใจตามประสาคนแก่ผู้เฒ่า กล่าววาจาตำหนิบ่าว
“มีอะไรหรือเจ้า เสียงดังได้ยินมาแต่โน่น”
“คุณหญิงขอรับ…คือว่า……ว่า (ตาเหลือบมองคุณหญิง)”
“ทัพพระยาสรรค์ยึดพระนครแล้วขอรับ”
ขุนศรีอภัยภักดิ์ตกใจ พร้อมพูดว่า
“เจ้าว่าอันใดน่ะ หาไม่ข้าจะโบยเจ้า2ยก (80ครั้ง)”
“ท่านได้ยินไม่ผิดแล้วขอรับ ทัพพระยาสรรค์ยึดพระนครธนบุรีขอรับ”
“ไม่ได้การแล้ว (มองหน้าบ่าวผู้ชาย)บอกเจ้าเรืองเตรียมเรือให้ข้าด้วย”
“จะไปที่ใดรึเจ้า”
“ลูกจะไปสืบข่าวคราวที่หน้าพระราชวังขอรับ”
“ระวังตัวด้วยน่ะเจ้า เพลานี้พระนครไม่สงบ”
ขุนศรีอภัยภักดิ์ก้าวเท้าเดิน2-3ก้าว แม่ชบาผู้เป็นเมียวิ่งไปกอดเข้าด้านหลัง
“คุณพี่….ระวังตัวด้วยนะคะ”
ด้วยจิตวิญญาณรักชาติ ขุนศรีอภัยภักดิ์เอามือจับมือของชบาแล้วปล่อยลง
“คุณพี่”
“นี่แม่ชบา เจ้าจะร้องหาอันใด ผัวเจ้าแค่ไปสืบข่าวคราว ไม่ได้ไปตายสักหน่อย”
15บาทผ่านไป(1ชั่วโมงครึ่ง)
ขุนศรีอภัยภักดิ์เดินขึ้นเรือนด้วยแววตาเศร้าสลด
“เป็นอย่างไรบ้างพ่อศรี”
“เป็นดั่งที่บ่าวมาแจ้งขอรับ กองทัพพระยาสรรค์ยึดพระนคร หาไม่ยังบีบบังคับให้ขุนหลวงตาก(สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)ออกผนวช และสละราชสมบัติ”
“เจ้าว่ากระไรน่ะ”
ท่านขุนฯยังพูดต่ออีกว่า
“พระยาสรรค์นี่มันร้ายเหลือทน ขุนหลวงตากท่านทรงรับสั่งให้ไปปราบกบฏ แต่กลับไปเข้ากับกบฏนำทัพเข้ายึดกรุง”
“สักวันกรรมจะตามสนอง”
“แล้วนี่ใครจะขึ้นครองราชสมบัติต่อไปเล่า แผ่นดินมิสามารถว่างเว้นขุนหลวงได้”
“ก็คงจะเป็นฝ่ายกบฏคนใดคนหนึ่งแหละขอรับ”
คุณหญิงย่ากล่าววาจานุ่มนวล อ่อนหวาน
“รู้ว่าขุนหลวงตากทรงพระสติวิปลาส แล้วฉวยโอกาสยึดพระราชบังลังก์ คิดทรยศต่อแผ่นดิน ทั้งๆที่ครั้งพม่าบุกกรุงศรีอยุธยาท่านก็ทรงขับไล่ศัตรูออกจากแผ่นดินจนหมดสิ้น สักวันกรรมจะตามสนอง”
แม่ชบาพูดแทรกว่า
“นั่นสิเจ้าคะ ตัวเป็นถึงพระยา แต่ทำตัวต่ำๆทรามๆ ไม่สำนึกพระมหากรุณาธิคุณที่ขุนหลวงท่านมีไว้กับตนเอง คนเยี่ยงนี้ไม่ช้าไม่เร็ว กรรมที่กระทำจะคืนสนอง”
“แล้วนี่ สมเด็จเจ้าพระยาฯ(ร.๑) ที่ไปราชการทัพเมืองเขมร ท่านทราบข่าวยังเล่า”คุณหญิงกล่าว
“คงจะไม่แหละขอรับ เรื่องเพิ่งเกิดตอนตะวันขึ้นเอง”
ณ เมืองเสียมราฐ เขมร
สมเด็จเด็จเจ้าพระยา (ร.๑) มีจิตใจร่าเริง ดีใจ เพราะสามารถยกทัพตีเมืองเสียมราฐได้สำเร็จ อีกใจหนึ่งมีความทุกข์ที่เห็นชาวเมืองเดือดร้อนแสนยากลำบาก ต้องกินน้ำโคลนจากศึกสงคราม แลเห็นไปทั้วเมืองเต็มไปด้วยบ้านผุพัง บ้านไม้ริมฝั่งน้ำโดนน้ำกัดเซาะจนเหลือแทบโครง
“ข้าสงสารชาวบ้านชาวเมืองที่ต้องโดนภัย แต่ทำอย่างไรได้ เพื่อความเจริญ และสื่อถึงอำนาจของธนบุรี ข้าย่อมทำได้เสมอ”
แต่แล้วได้มีนายทหารผู้หนึ่งวิ่งเข้ามาเฝ้า
“เจ้าเป็นอันใดรึ หรือว่าข้าศึกมันมาบุกเรากลับ”
เสียงของสมเด็จเจ้าพระยาที่เต็มไปด้วยความแกร่งกราจชายชาติทหาร
“ไม่ใช่เรื่องสงครามขอรับ”
“แล้วเรื่องอันใดเล่า”
“พระยาสรรค์ร่วมกับกบฏยึดพระนคร ปล้นพระราชบัลลังก์ขอรับ”
“เจ้าว่าอันใดน่ะ ไม่ได้การแล้ว”
สมเด็จเจ้าพระยาสั่งทัพกลับธนบุรีโดยกระทันหัน
ฝ่ายกบฏและพระยาสรรค์ มีความสุขสบายในพระราชวัง สภาพขุนหลวงตากสินในขณะนี้คงเทียบได้กับเชื้อพระวงศ์บ้านพลูหลวง ถึงแม้จะเคยมีอำนาจในกำมือ แต่ต้องสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง พระยาสรรค์ให้คำมั่นสัญญากับพระยาสุริยอภัยซึ่งเป็นหลานของสมเด็จเจ้าพระยาฯว่าจะรั้งเมืองธนบุรีไว้เพื่อให้สมเด็จเจ้าพระยาฯกลับมาครองสืบไป แต่กาลต่อมาได้ปล่อยตัวกรมขุนอนุรักษ์สงครามซึ่งเป็นพระนัดดาของขุนหลวงตากพร้อมกับขุนนางฝ่ายขุนหลวงตากมาสู้กับพระยาสุริยอภัย ฝ่ายพระยาสุริยอภัยเกิดสงสัยว่าทำไมไม่เป็นไปดั่งสัญญา อาจเป็นไปเพราะครั้งนั้นพระยาสรรค์อาจจะยังไม่รับรู้ถึงกำลังทัพของพระยาสุริยอภัย จึงจำเป็นต้องยอมอ่อนน้อม แต่พอได้เห็นศักยภาพทัพของพระยาสุริยอภัย จึงฉุดคิดได้ว่าพอสามารถต่อสู้ได้ จึงตัดสินใจที่จะสู้ ถึงแม้จิตใจจะยอมอ่อนน้อม แต่ยังมีเสี้ยวเล็กๆยังคิดกบฏ
เหตุการณ์จะเป็นเช่นไรต่อไปนั้น กรุณาติดตามชมตอนต่อไปขอรับ
คู่เวร |3
บ้านเมืองธนบุรีในสมัยนั้นไม่สงบยิ่งนัก ผู้คนละทิ้งสมบัติ ละทิ้งบ้านเรือนหนีเข้าป่าเอาตัวรอด ครอบครัวขุนศรีอภัยภักดิ์ไม่คิดหนี มิคิดทรยศแผ่นดิน คิดที่จะสู้เพื่อเอาตัวรอด
เอกชัย ลูกชายของนายมิ่ง กับนางขวัญ รุ่นราวคราวเดียวกับคุณหนูแกมพิกุล เขาต้องเอาตัวรอดเพียงผู้เดียว ด้วยที่พ่อกับแม่ต่างพากันหนีเอาตัวรอด เด็กชายตัวน้อยนั่งจับเข่าร้องไห้อย่างโดดเดี่ยว จนกระทั่งมีตายายทาสคู่หนึ่งมาเห็นเข้า ถามไถ่จึงได้ความ รีบไปแจ้งคุณหญิง คุณหญิงกริ้วนายมิ่งกับนางขวัญเป็นอย่างมาก
“คนกระไรคิดทรยศต่อแผ่นดินเกิด ไม่มีจิตสำนึกปกป้องแผ่นดิน เป็นตายร้ายดียังไง ข้าก็จะยืนหยัดที่เรือนหลังนี้ จะอยู่ที่นี่จนลมหายใจสุดท้าย”
คุณหญิงรับอนุเคราะห์เอกชัย
เพลากลางคืน
มีเสียงดังกึกก้องมากพอที่จะปลุกไพร่ฟ้าประชาชีให้ตื่นขึ้นจากการหลับไหล คุณหญิงและขุนศรีอภัยภักดิ์พลอยตื่นไปด้วย
“เสียงจากไหนรึ”
“เสียงดังแสบหูเช่นนี้ คงเป็นเสียงสงครามขอรับ”
เมื่อยามไก่ขัน คุณหญิงและท่านขุนฯจึงทราบข่าวว่าเสียงดังกล่าวเป็นเสียงการปะทะระหว่างพระยาสุริยอภัย(หลานของสมเด็จเจ้าพระยา)กับกรมขุนอนุรักษ์สงคราม(พระนัดดาขุนหลวงตาก) ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวพระยาสุริยอภัยเป็นฝ่ายชนะ ด้วยกำลังพลของทัพกรมขุนอนุรักษ์สงครามมีน้อย ตีกองทัพอีกฝ่ายไม่สำเร็จ จึงถอยกลับทางวัดยาง ในที่สุดถูกพวกพระยาสุริยอภัยจับได้
กลับมาที่เรือนของขุนศรีอภัยภักดิ์ แกมพิกุลสนทนากับคุณย่า
“น่ากลัวจังเลยเจ้าค่ะ พิกุลสงสารทหารที่ต้องรบ มีเลือดไหลออก แต่ก็ยังอดทน”
“มันเป็นปกติของสงครามจ๊ะ สมัยที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงหนักกว่านี้อีก วัดวาอารามโดนเผาไหม้จนไม่เหลือให้เห็นความงดงาม เขตพระราชวังโดนพม่าทำลายจนหมดความงาม”
“จริงหรอค่ะคุณย่า น่ากลัวจังเลยเจ้าค่ะ”
ในระหว่างที่สองย่าหลานสนทนาอยู่ ชายน้อยเอกชัยเดินเข้ามานั่งกับพื้น
“ทำไมนั่งบนพื้นล่ะ มานั่งบนตั่งกับฉันสิ”
“ข้าก็อยากนั่งบนนั้น แต่พ่อกับแม่ข้าสอนว่าห้ามทำตัวเสมอคุณหนู”
คุณย่ายิ้มใหญ่ให้กับความใสซื่อของเด็กน้อยทั้งสอง พลางเอามือลูบหัวเอกชัย พร้อมพูดว่า
“ณ ตอนนี้ เจ้าก็เปรียบเสมือนลูกเหมือนหลานข้า จะทำอันใดข้าก็ไม่ว่า มานั่งกับฉันด้านบนมา”
เอกชัยลุกขึ้นจากพื้นนั่งบนตั่งเช่นเดียวกับคุณหนูแกมพิกุล ระหว่างนั้นขุนศรีอภัยภักดิ์เดินมเข้ามาพอดิบพอดี
“นี่เจ้าเอก คิดว่าคุณแม่ข้ายกย่องเสมอลูกสาวข้า แล้วจะนั่งตั่งเทียบกับลูกสาวข้ารึ”
“อย่าดุพ่อเอกเลยพ่อขุน แม่เป็นคนสั่งให้พ่อเอกนั่งบนตั่งเอง”
ขุนศรีอภัยภักดิ์นั่งลงบนตั่งอีกตัวหนึ่ง พลางพูดว่า
“นี่คุณแม่เชิดชูลูกคนที่ทรยศแผ่นดินเช่นนี้เลยหรือขอรับ”
“ว่าไปพ่อเอกก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วย เกลียดคนเกลียดได้ แต่อย่าชักจูงคนที่ไม่เกี่ยวข้องมาร่วมด้วย”
เมื่อโดนคุณหญิงตำหนิต่อหน้าลูกสาว ท่านขุนแทบอาย เปลี่ยนเรื่องพูดโดยปริยาย
3 วันถัดมา
ทัพสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเดินทัพถึงกรุงธนบุรี นำกำลังพลยึดอำนาจจากฝ่ายกบฏ ฝ่ายกบฏยอมอ่อนน้อมถ่อมตน ด้วยที่ทัพของสมเด็จเจ้าพระยามีกำลังพลทหารมากมาย ร่วมด้วยอาวุธนานาชนิดอีกคับคั่ง สมเด็จเจ้าพระยาได้ตัดสินโทษผู้ก่อการตามสมควร โดยพระยาสรรค์และกรมขุนอนุรักษ์สงครามโดนตัดสินโทษประหารชีวิต
และเหล่าขุนนาง,เสนาอำมาตย์มีความคิดเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรประหารชีวิตขุนหลวงตาก และอัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยาฯขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อพิธีประหารชีวิตขุนหลวงตากเสร็จสิ้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ขณะที่มีพระชนมายุได้ 46 พรรษา บ้านเมืองในสมัยนั้นกลับมาฟื้นฟู เจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง
กลับมาที่เรือนขุนศรีอภัยภักดิ์
ทุกคนมีความยินดิ ปิติปรีดา เหตุเพราะขุนศรีอภัยภักดิ์ได้รับการอวยโข(อวยยศ)เป็น”หลวงอภัยภักดิ์”
“ราชการมั่งคั่ง คิดอะไรก็สมปรารถนาเถอะลูก ทำงานโดยไม่หวังลาภยศ คิดได้แบบนี้ชีวิตจะเป็นสุข”
“ลูกก็ขอให้คุณแม่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว อยู่เป็นมิ่งขวัญให้ลูกให้หลาน ให้บ่าวให้ไพร่ มีความสุขตลอดกาลนาน”
แม่ชบาอมยิ้มแก้มปริ คลานเข้าหาคุณหญิง กราบเข้าที่ตัก คุณหญิงกล่าวว่า
“เจ้าก็เช่นกัน คอยปรนนิบัติสามีให้ดีล่ะ มีลูกมีเต้าแล้วจะมากระโดกกระเดกเหมือนปางก่อนไม่ได้”
ยิ่งพูด แม่ชบายิ่งยิ้มแก้มปริ หันหาสามี พลางพูดว่า
“เจ้าค่ะคุณแม่ ข้าจะเอาใจใส่ลูกชายคุณแม่ให้ดีที่สุดเท่าที่ภรรยาคนหนึ่งจะปฏิบัติได้”
โปรดติดตามชมตอนต่อไป
เพื่อวิธีการเล่นเพิ่มโปรดดาวน์โหลดMangatoon APP!