สังเกตคนเก็บกด
พวกเขามักจะไม่มีอาการว่าเก็บกด หรือกดดันอะไร
เรามักจะจินตนาการว่าคนเก็บกดต้องอยู่ในห้องคนเดียว นั่งกอดเข่า เอาหัวซุก แต่ความจริงๆแล้วนั่นคนละอาการกับการเก็บกด เพราะคนที่เก็บกดจริงๆจะไม่โชว์ด้านที่ตัวเองแปลกกว่าคนอื่นออกมา เขาจะพยามเป็นปกติดีเหมือนคนอื่นๆ
พวกเขามักเหนื่อยล้า และบ่นบ่อยๆว่าเหนื่อย ลำบาก ท้อแท้
เขามักนอนเยอะมาก และเมื่อตื่นมาตอนเช้าเขากลับคิดว่าทำไมรู้สึกว่านอนน้อยจัง ฉันเป็นคนขี้เกียจแน่ๆ เลยทำให้ขาดไฟในการทำงานซึ่งจะส่งผลให้เขามีการทำงานที่แปลกกว่าคนอื่น และมีสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานแบบแปลกๆ
พวกเขามีอารมณ์แปรปรวนผิดปกติ
สิ่งที่จะเห็นได้ชัดจากคนที่เก็บกดคือ โมโหง่าย ขี้รำคาญ มักจะมีแต่อารมณ์ด้านลบ
มีความรู้สึกเฉยๆกับความรักและความห่วงใยที่คนอื่นมีให้
คนเก็บกดไม่ใช่คนที่จะนั่งเสียใจตลอดเวลา แต่เป็นพวกเก็บทุกอย่างไว้กับตัวจนมีปัญหากับการจัดการความรู้สึก พอนานๆผ่านไปพวกเขามักไม่เห็นคุณค่าของความรู้สึกดีๆที่คนอื่นมีให้ เพราะเขาก็ไม่เคยทำให้คนอื่น เนื่องจากมีแต่อารมณ์ลบๆอยู่บ่อยครั้ง

เขาไม่ค่อยชอบกิจกรรมที่เขาเคยชอบแล้ว
หลายคนอาจสงสัยว่าเพื่อนของเราทำไมยังเคยชอบเล่นกีฬาชนิดนี้เมื่อปีที่แล้ว แต่ปีนี้กลับบอกว่าไม่เคยชอบ หรือไม่ชอบแล้ว ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องปกติเพราะการกดดันตัวเองทำให้เขาชอบทำอย่างอื่นที่คิดว่ามันถูกต้องมากกว่า
พวกเขามีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ
พวกเขามักจะกินมากเกินไป หรืออาจจะน้อยเกินไป ขึ้นอยู่กับอารมณ์ บางอารมณ์ทำให้บางคนรู้สึกว่าอาหารทำให้มีความสุข เขาก็จะกินมากเกินไป แต่บางอารมณ์ก็ทำให้บางคนไม่มีกระจิตกระใจจะกินเลยด้วยซ้ำ
พวกเขาเริ่มเรียกร้องจากคุณมากเกินไป
คนเก็บกดไม่ใช่คนโรคจิต แต่เค้าจะไม่เหมือนคนปกติเลยเสียทีเดียว หากคุณไปด่าหรือว่า มันจะไม่ช่วยให้เขาดีขึ้น คุณควรหันไปเข้าใจมากกว่า การที่เขาเรียกร้องความเข้าใจจากคุณ อาจเป็นเพราะเขาคาดหวังและมีคุณทำให้เขารู้สึกดีได้นั่นแหละ
อารมณ์เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย สามวันดี สี่วันไข้
การเก็บกดมันก็มีขึ้นมีลงเหมือนมหาสมุทร คนพวกนี้ไวต่อความรู้สึก มีความรู้สึกที่รุนแรง เมื่อดีก็จะดีมากๆๆ เมื่อร้ายก็จะร้ายมากๆ เมื่อเสียใจก็ฟูมฟายเกินเหตุกว่าความเป็นจริง
โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่มีผู้เป็นจำนวนไม่น้อย แต่ยังมีผู้รู้จักโรคนี้ไม่มากนัก บางคนเป็นโดยที่ตัวเองไม่ทราบ คิดว่าเป็นเพราะตนเองคิดมากไปเองก็มี ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และทันท่วงที
ผมเขียนหนังสือเล่มนี้ด้วยหวังว่าจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจโรคนี้มากขึ้น เพราะพบว่าหลายๆ คนสงสัยว่าตัวเองจะเป็นโรคนี้หรือเปล่า บ้างก็รักษามาบ้างแล้วและอยากจะรู้เกี่ยวกับโรคที่ตัวเองเป็นมากขึ้น แต่ก็ไม่รู้จะหากข้อมูลจากไหน จะถามแพทย์ก็เกรงใจ เนื้อหาที่เขียนส่วนหนึ่งได้มาจากคำถามหรือข้อสงสัยที่ผู้ป่วยมักถามผม คิดว่าคนอื่นๆ ก็น่าจะมีข้อสงสัยคล้ายๆ กัน เชื่อว่าหนังสือนี้คงคลายข้อสงสัยของท่านได้ระดับหนึ่ง
ศาสตราจารย์นายแพทย์มาโนช หล่อตระกูล
...----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------...
...
...
...Melancholy, (1892) Edvard Munch1...
เอ็ดเวิร์ด มุงค์ เป็นศิลปินชาวนอร์เวย์ที่มีชื่อเสียง ผลงานของเขาส่งอิทธิพลสำคัญต่อศิลปะแบบเอ็กเพรสชั่นนิสซึมในช่วงต่อมาเช่นเดียวกับแวนก๊อก และโกแกง ที่อยู่ในยุคเดียวกัน มุงค์เกิดปี 1860 มีชีวิตที่มีความทุกข์ ขมขื่น ตั้งแต่วัยเด็ก แม่เสียชีวิตเมื่อเขาอายุ 5 ขวบ และพี่สาวเสียชีวิตเมื่อเขาอายุ 14 ปี พ่อเป็นหมอดูแลคนไข้ที่บ้าน สุขภาพของเขาแย่มาตลอดตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มก็มีชีวิตรักที่ตึงเครียด ติดเหล้า ชีวิตมีแต่การเดินทางจากแห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่ง ภาพวาดของเขาในยุคต้นสะท้อนถึงความทุกข์ความปวดร้าวต่างๆ เหล่านี้ เมื่ออายุประมาณ 45 ปีเขามีอาการซึมเศร้าครั้งแรก ใช้เวลากว่า 8 เดือนที่สถานพักฟื้นในเดนมาร์ก หลังจากนั้นเขากลับใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในนอร์เวย์
ในทศวรรษ 1890 มุงค์ได้ใช้เวลาช่วงฤดูร้อนหลายครั้ง ที่เมือง Asgardstrand ร่วมกับเพื่อนๆ จากกลุ่ม Kristiania bohemian คนที่เป็นต้นแบบรูปคนซบหน้ากับแขนในภาพวาดคือ Jappe Nilssen ซึ่งเป็นนักเขียนและนักวิจารณ์ศิลปะ จะเห็นสาเหตุซึ่งทำให้เขาเศร้าโศกจากฉากหลังที่เป็นสะพานยาวที่ทอดยื่นไปในทะเล คู่รักของเขากำลังเดินไปขึ้นเรือกับชายอื่น
ภูมิทัศน์สะท้อนถึงบรรยากาศของความเงียบสงัดและหม่นหมอง โครงภาพไม่ซับซ้อนและก้อนหินที่อยู่ด้านหน้ามีรูปลักษณ์เฉพาะตัว ส่วนที่เป็นแนวลึกแสดงโดยใช้ชายหาดเว้าโค้งเข้าออก และภาพที่อยู่ส่วนหลังที่มีขนาดเล็กลงบ่งถึงการตวัดพู่กันอย่างรวดเร็ว ในช่วงปีที่ใช้ชีวิตอยู่ในปารีส มุงค์ได้รับอิทธิพลจากกระแสความคิดต่างๆ ในยุคนั้น และรวมถึงแนวการใช้โครงร่างแบบ Art Nouveau รูปปั้นชื่อ “The Thinker” ที่มีชื่อเสียงของโรแดง ได้ทำให้ท่าทางที่บ่งถึงการครุ่นคำนึงที่มีอายุยาวนานกว่าศตวรรษกลับมาได้รับความนิยมอีก คล้ายคลึงกับภาพแกะสลักนูนMelancholy ที่มีชื่อเสียงของ D rer ที่ Melancholia แสดงรูปลักษณ์ออกมาโดยการซบศีรษะไปบนแขนซ้ายของเธอ
Melancholy เป็นงานชิ้นสำคัญในชุดภาพวาด Frieze of Life ของมุงค์ มีด้วยกันหลายๆ แบบและเป็นจุดเริ่มต้นของการหันเหไปสู่ภาพพิมพ์ลายไม้ที่มีชื่อเสียงของเขา
...-------------------------------------------------------------------------------------------------...
โรคซึมเศร้าคืออะไร
สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วคำว่าโรคซึมเศร้าฟังดูไม่คุ้นหู ถ้าพูดถึงเรื่องซึมเศร้าเรามักจะนึกกันว่าเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความผิดหวัง หรือการสูญเสียมากกว่าที่จะเป็นโรค ซึ่งตามจริงแล้ว ที่เราพบกันในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกธะรรมดาๆ ที่มีกันในชีวิตประจำวัน มากบ้างน้อยบ้าง อย่างไรก็ตามในบางครั้ง ถ้าอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอยู่นานโดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น หรือเป็นรุนแรง มีอาการต่างๆ ติดตามมา เช่น นอนหลับๆ ตื่นๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ก็อาจจะเข้าข่ายของโรคซึมเศร้าแล้ว
คำว่า “โรค” บ่งว่าเป็นความผิดปกติทางการแพทย์ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้อาการทุเลา ต่างจากภาวะอารมณ์เศร้าตามปกติธรรมดาที่ถ้าเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัวคลี่คลายลง หรือมีคนเข้าใจเห็นใจ อารมณ์เศร้านี้ก็อาจหายได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านอกจากมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมกับอาการต่างๆ แล้ว การทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันก็แย่ลงด้วย คนที่เป็นแม่บ้านก็ทำงานบ้านน้อยลงหรือมีงานบ้านคั่งค้าง คนที่ทำงานนอกบ้านก็อาจขาดงานบ่อยๆ จนถูกเพ่งเล็ง เรียกว่าตัวโรคทำให้การประกอบกิจวัตรประจำวันต่างๆ บกพร่องลง หากจะเปรียบกับโรคทางร่างกายก็คงคล้ายๆ กัน เช่น ในโรคหัวใจ ผู้ที่เป็นก็จะมีอาการต่างๆ ร่วมกับการทำอะไรต่างๆ ได้น้อยหรือไม่ดีเท่าเดิม
ดังนั้น การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นเป็นคนอ่อนแอ คิดมาก หรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา เอาแต่ท้อแท้ ซึมเซา แต่ที่เขาเป็นนั้นเป็นเพราะตัวโรค กล่าวได้ว่าถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โรคก็จะทุเลาลง เขาก็จะกลับมาเป็นผู้ทีจิตใจแจ่มใส พร้อมจะทำกิจวัตรต่างๆ ดังเดิม
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก การเปลี่ยนแปลงหลักๆ จะเป็นในด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม ร่วมกับอาการทางร่างกายต่างๆ ดังจะได้กล่าวต่อไป
กลับไปต้นฉบับ
เพื่อวิธีการเล่นเพิ่มโปรดดาวน์โหลดMangatoon APP!